Tag: พระศิวะ

  • พระหริหระ

    พระหริหระ

    พระหริหระ (สันสกฤต: हरिहर, อังกฤษ: Harihara) เป็นอวตารรวมของพระวิษณุ (หริ) และพระศิวะ (หระ) เทพเจ้าในศาสนาฮินดู พระนามอื่น เช่น ศันกรนารายณ์ (มาจาก “ศังกระ” คือพระศิวะ และ “นารายณ์” คือพระวิษณุ) และ พรหมนารายณ์ ดังนั้นจึงพบการบูชาพระหริหระทั้งในลัทธิไวษณพและลัทธิไศวะ ให้เป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดองค์หนึ่ง คำว่า “หริหระ” บางครั้งก็ใช้กล่าวถึงคำศัพท์ในเชิงปรัชญาที่แสดงถึงการรวมพระวิษณุและพระศิวะในมุมมองที่แตกต่างภายใต้ความสูงสุดเดียวกันคือพรหมัน แนวคิดของหริหระจึงเทียบเคียงกับ “ความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง” ในคัมภีร์ของปรัชญาฮินดูสำนักอทไวตะเวทานตะ เทวรูปที่เก่าแก่ที่สุดของพระหริหระ พบที่ถ้ำหมายเลข 1 และ 3 ของมนเทียรในถ้ำพทามี ซึ่งสร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ที่มา Wikipedia

  • พระตรีศักติ

    พระตรีศักติ

    ตรีเทวีหรือตรีศักติ (สันสกฤต: त्रिदेवी) คือ การอวตารรวมของภาคของมหาเทวีสูงสุดทั้งสามองค์ในศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระแม่ปารวตี (พระมเหสีของพระศิวะ) พระลักษมี (พระมเหสีของพระนารายณ์) และ พระสุรัสวดี (พระมเหสีของพระพรหม) ซึ่งมหาเทวีสามองค์นี้คือพระผู้เป็นใหญ่ในศาสนาฮินดูนิกายศักติ(นิกายใหญ่ในศาสนาฮินดูที่นับถือพระแม่เป็นหลัก) พระตรีศักติ เป็นตัวแทนแห่งพลังอำนาจของมหาเทพทั้ง 3 โดยแบ่งเป็น รชะ(การสร้างสรรค์) สตวะ(การธำรงอยู่) ตามสะ(การดับไปหรือหมดสิ้นไป) ซึ่งพระแม่มหาสรัสวตีจะอยู่ในรูป รชะ คู่กับพระพรหม พระแม่มหาลักษมีอยู่ในรูปของ สตวะ คู่กับพระวิษณุ และพระแม่มหากาลี หรือ ปารวตี อยู่ในรูปของ ตามสะ คู่กับพระศิวะ ในเทวีภาควตมหาปุราณะ กล่าวว่า พระเทวีทั้งสามปรากฏแรกเริ่มจากการสร้างของพระอาทิศักติ(Adi Shakti)ในสมัยแรกเริ่มกำเนิดจักรวาลนั่นเอง มหาสรัสวตีได้รับการอธิบายว่าเป็นผู้สังหารชุมบาในเทวีภะคะวะตะปุราณะ โดยบอกว่าเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับพระสรัสวดีเพียงเล็กน้อย พระมหาลักษมีเป็นความเจริญรุ่งเรืองของเทวี พระนางมีสองรูปแบบ คือ พระวิษณุปรียาลักษมี และราชยลักษมี แบบแรกคือศูนย์รวมของความบริสุทธิ์ทางเพศและคุณธรรม เรื่องหลังเกี่ยวกับการติดพันกษัตริย์ Rajyalakshmi ถูกระบุว่าเป็นคนไม่แน่นอนและหุนหันพลันแล่น เธอเข้าไปในสถานที่ทั้งหลายที่สามารถพบคุณธรรมและการกุศลได้ และทันทีที่ทั้งสองคนนี้หายไปจากที่ใด ราชยลักษมีก็จะหายไปจากสถานที่นั้นด้วย มหากาลี เป็นตัวแทนของความมืด Tamas บริสุทธิ์เป็นตัวเป็นตน มหากาลีเป็นหนึ่งในสามรูปแบบหลักของเทวี พระนางได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นลักษณะจักรวาลอันทรงพลัง (พยัตติ) ของเทวี และเป็นตัวแทนของกุนา (พลังงานสากล) ที่ชื่อว่าทามาส และเป็นตัวตนของพลังสากลแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นพลังเหนือธรรมชาติแห่งกาลเวลา พระสนมของพระตรีมูรติดูบทความหลักที่: สรัสวดี, ลักษมี และ…

  • พระอรรธนารีศวร

    พระอรรธนารีศวร

    พระอรรธนารีศวร (สันสกฤต: अर्धनारीश्वर, Ardhanārīśwara) เป็นรูปรวมเพศ (androgynous) ของเทพเจ้าฮินดูสององค์คือพระศิวะและพระปารวตี (ต่อมามักเรียกว่าเทวี, ศักติหรือศักติ-ศิวา และพระแม่อุมา) ลักษณะกายแบ่งครึ่งตรงกลางตามแนวตั้ง เท่า ๆ กัน ออกเป็นสองส่วน ครึ่งทางขวามือเป็นเพศบุรุษ คือพระศิวะ มีพระลักษณะแบบพระศิวะปางทั่วไป ส่วนฝั่งซ้ายปรากฏเป็นนารีผู้งดงาม คือ พระแม่ปารวตี รูปเคารพพระอรรธนารีศวรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมาจากยุคจักรวรรดิกุษาณะ ราวคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง รูปเคารพมีการพัฒนาและสมบูรณ์ในยุคจักรวรรดิคุปตะ มีการระบุตำนานและประติมานวิทยาของพระอรรธนารีศวรในปุราณะต่าง ๆ พระอรรธนารีศวรสามารถพบรูปเคารพทั่วไปตามโบสถ์พราหมณ์ส่วนใหญ่ที่มีพระศิวะเป็นองค์ประธาน ถึงแม้ว่าโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างโดยมีพระอรรธนารีศวรเป็นองค์ประธานโดยตรงจริง ๆ มีอยู่ไม่มาก ในตำนานกล่าวว่า ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกได้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ พระศิวะ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่ พระนาม คำว่าอรรธนารีศวร แปลตรงตัวว่า “เทพเจ้าบุรุษผู้ครึ่งหนึ่งทรงเป็นสตรี” พระนามอื่น ๆ ที่พบ เช่น อรรธนรนารี (अर्धनरनारी;…

  • ศิวลึงค์

    ศิวลึงค์

    ศิวลึงค์ ลึงค์ หรือ ลิงค์ (สันสกฤต: लिङ्गं liṅgaṃ หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ เพศ องคชาต การอนุมาน คัพภะที่ก่อเกิดลูกหลานชั่วนิรันดร์) เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ใช้ในการบูชาสักการะในโบสถ์วิหารฮินดู ในศาสนาฮินดูยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าศิวลึงค์เป็นตัวแทนทางกายภาพของเทพเจ้าหรือเป็นเครื่องหมายทางจิตวิญญาณ ศิวลึงค์ ถูกแปลความว่าเป็นเครื่องหมายแห่งพลังสร้างสรรค์ในบุรุษเพศที่มาจากองคชาต แม้ว่าในปัจจุบันชาวฮินดูส่วนใหญ่จะมองศิวลึงค์เป็นเครื่องหมายแห่งพลังศักดิ์สิทธิ์มากกว่าเครื่องหมายทางเพศ ศิวลึงค์มักปรากฏอยู่พร้อมกับโยนี สัญลักษณ์ของพระแม่ปารวตีอันบ่งบอกถึงพลังสร้างสรรค์ของสตรีเพศ การที่ศิวลึงค์และและโยนีอยู่ร่วมกันแสดงถึง “ความเป็นสองในหนึ่งเดียวที่แยกออกจากกันไม่ได้ของบุรุษและสตรี อวกาศที่หยุดนิ่งและเวลาซึ่งเคลื่อนที่อันเป็นต้นกำเนิดของสรรพชีวิต” ตั้งแต่สิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักวิชาการตีความว่าศิวลึงค์และโยนีเป็นอวัยวะเพศชายและหญิง ขณะที่ชาวฮินดูเห็นว่าทั้งสองสิ่งเป็นเครื่องแสดงถึงหลักการที่ว่าหญิงและชายไม่อาจแยกออกจากกันได้และเป็นเครื่องหมายแห่งการก่อกำเนิด ที่มา Wikipedia ตำนานศิวะลึงก์ ตัวแทนแห่งพระศิวะเทพในไทยเรานั้น อาจคุ้นเคยกับกับเครื่องรางหรือวัตถุมงคลอย่างหนึ่ง ที่มีอำนาจสูงส่งด้านโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม ซึ่งเรารู้จักมักคุ้นกันดีในชื่อของ “ปลัดขิก” ปลัดขิกของไทยนั้นมีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีที่มาจาก ศิวลึงค์ ของอินเดีย ตามคติของ ไศวะนิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด ในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย เครื่องหมายที่เป็นองค์แทนของพระศิวะนั้น ชาวไศวะนิกายใช้รูปของ ศิวลึงค์ หรือเครื่องเพศของชาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญโดยให้เหตผลว่า นี่คือสัญลักษณ์แห่งพระผู้สร้าง สัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิด คติการนับถือนี้นับว่ามีมานานมากที่สุด มีมานานนับพันๆ ปีมาแล้วและแพร่เขาสู่สยามประเทศผ่านทางวัฒนธรรมขอม และหัวเมืองฝ่ายใต้ด้านมลายู แต่เป็นที่แปลกที่ว่าหากเราไปในประเทศอินเดียพูดถึง ปลัดขิก กลับไม่มีใครรู้จัก แต่เขารู้จักเครื่องรางชนิดนี้ในนามของ “ศิวะลิงคัม” ซึ่งแท้ที่จริงก็มาจากคำว่า ลิงคะ หรือภาษาไทยคือ ลึงค์ นั่นเอง ในการนับถือพระศิวะนั้น มักมีการทำรูปสมมุติของพระองค์ด้วยการทำเป็นศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์แห่งเพศชาย ด้วยเชื่อว่า พระศิวะ คือเทพเจ้าแห่งการรังสรรค์การกำเนิด…

  • พระศิวะ

    พระศิวะ

    เทพผู้ทำลายสิ่งชั่วร้าย บิดาของพระพิฆเนศ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในจักรวาล ประทานพรให้มีอำนาจบารมี ชนะมารศัตรูผู้คิดร้าย (ที่มา : สยามคเณศ) พระศิวะ (/ˈʃɪvə/; สันสกฤต: शिव, อักษรโรมัน: Śiva, แปลตรงตัว ’ผู้เป็นมงคลยิ่ง’ [ɕɪʋɐ]) หรือ มหาเทพ (/məˈhɑː ˈdeɪvə/; สันสกฤต: महादेव:, อักษรโรมัน: Mahādevaḥ, แปลตรงตัว ’เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่, มหาเทพ’ [mɐɦaːd̪eːʋɐ]),[3][4][5] หรือ หระ คนไทยนิยมเรียกพระองค์ว่า พระอิศวร[6] เป็นเทพเจ้าฮินดูองค์สำคัญ ถือเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดในคติของลัทธิไศวะ[7] ในบรรดาตรีมูรติ (เทพเจ้าสูงสุดสามองค์ อีกสององค์คือพระพรหมและพระวิษณุ) ถือกันว่าพระศิวะเป็น “ผู้ทำลาย” [8][9] ในขณะที่ตามคติไศวะถือว่าพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ผู้สร้าง ผู้พิทักษ์ และผู้เปลี่ยนถ่ายจักรวาล ในคติลัทธิศักติถือว่าเทวีและอำนาจสูงสุดของศักติประดุจเป็นคู่ของพระศิวะพระศิวะยังเป็นหนึ่งในห้าเทพเจ้าองค์สำคัญของปัญจายตนบูชาในคติสมารตะของศาสนาฮินดู พระศิวะทรงมีหลายปาง ตั้งแต่เมตตาถึงน่ากลัว ในปางเมตตา ทรงมีลักษณะเป็นโยคีผู้ถือพรตนิยมประทับอยู่บนเขาไกรลาศ[8] และในฐานะผู้ดูแลที่ประทับของพระปารวตีและบุตรทั้งสอง คือพระคเณศและพระขันธกุมาร ส่วนในปางดุร้าย ทรงมีลักษณะน่ายำเกรง ต่อสู้และกำจัดอสูร นอกจากนี้ยังมีรูปปางในฐานะอาทิโยคีศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งโยคะ,…