Tag: พระพรหม
-
พระอรรธนารีศวร
พระอรรธนารีศวร (สันสกฤต: अर्धनारीश्वर, Ardhanārīśwara) เป็นรูปรวมเพศ (androgynous) ของเทพเจ้าฮินดูสององค์คือพระศิวะและพระปารวตี (ต่อมามักเรียกว่าเทวี, ศักติหรือศักติ-ศิวา และพระแม่อุมา) ลักษณะกายแบ่งครึ่งตรงกลางตามแนวตั้ง เท่า ๆ กัน ออกเป็นสองส่วน ครึ่งทางขวามือเป็นเพศบุรุษ คือพระศิวะ มีพระลักษณะแบบพระศิวะปางทั่วไป ส่วนฝั่งซ้ายปรากฏเป็นนารีผู้งดงาม คือ พระแม่ปารวตี รูปเคารพพระอรรธนารีศวรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมาจากยุคจักรวรรดิกุษาณะ ราวคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง รูปเคารพมีการพัฒนาและสมบูรณ์ในยุคจักรวรรดิคุปตะ มีการระบุตำนานและประติมานวิทยาของพระอรรธนารีศวรในปุราณะต่าง ๆ พระอรรธนารีศวรสามารถพบรูปเคารพทั่วไปตามโบสถ์พราหมณ์ส่วนใหญ่ที่มีพระศิวะเป็นองค์ประธาน ถึงแม้ว่าโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างโดยมีพระอรรธนารีศวรเป็นองค์ประธานโดยตรงจริง ๆ มีอยู่ไม่มาก ในตำนานกล่าวว่า ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกได้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ มหาเทวะ พระศิวะ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่ พระนาม คำว่าอรรธนารีศวร แปลตรงตัวว่า “เทพเจ้าบุรุษผู้ครึ่งหนึ่งทรงเป็นสตรี” พระนามอื่น ๆ ที่พบ เช่น อรรธนรนารี (अर्धनरनारी;…
-
พระแม่คายตรี
คายตรี (Sanskrit: गायत्री, IAST:gāyatrī)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นบุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรีของพระเวท อันเป็นมนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากพระเวท นามคำไวพจน์ของเจ้าแม่อันเป็นที่นิยมอื่น ๆ คือ สาวิตรี และ เวทมารดร (มารดรแห่งพระเวท) พระนางมีความเกี่ยวข้องกับพระสาวิตรี, พระสุริยเทพในพระเวท และตามในคัมภึร์ สกันทะปุราณะ, คายตรี เป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี หรือ เป็นเทพีภริยาอีกองค์หนึ่งของท้าวมหาพรหมธาดา แต่ในลัทธิไศวะ, พระนางคือ พระเทพีมหาคายตรี อันเป็นเทพีภริยาศักติของพระศิวะ, ในภาคพระสทาศิวะอันมีห้าพักตร์สิบกรตามเทวประติมานวิทยาในบางท้องถิ่นพระนางคือเทพีภริยาศักติของพระวิษณุกรรม ในบางปุราณะ, คายตรีเป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี, เทพีเอกภริยาของพระพรหม ตามคัมภีร์มัตยะปุราณะ, พลังของวรกายด้านซ้ายของพระพรหม คือ สตรี, ซึ่งคือพระสุรัสวดี, สาวิตรีและคายตรี ในคัมภีร์กูรมะปุราณะพระฤๅษีโคดมได้รับการประสิทธิ์ประสาทพรจากเทวีในศาสนาฮินดูคายตรีและสามารถขจัดอุปสรรคที่ท่านเผชิญในชีวิตได้ และตามคัมภีร์สกันทะปุราณะ กล่าวว่าพระนางคายตรีเป็นสตรีอันได้เสกสมรสกับพระพรหม, ซึ่งเป็นอนุภริยารองจากพระสุรัสวดี คัมภีร์ปุราณะไม่กี่เล่มกล่าวว่าพระแม่คายตรีเป็นเทวีอีกองค์หนึ่งอันมิใช่องค์กับพระสุรัสวดีและเสกสมรสกับพระพรหม ตามคัมภีร์ปัทมะปุราณะ นางคยาตรีคือ สตรีสามัญชนอันเป็นมนุษย์ชนชาติอภิระ (Abhira tribe) อันได้ช่วยเหลือพระพรหมในพิธีกรรมยัญโหมกูณฑ์ ณ นครบุษปกรสมบูณ์สัมฤทธิผล[13] โดยเอกภรรยาองค์ของพระพรหมคือ สาวิตรีและ คายตรี คืออนุภรรยา เรื่องราวยังปรากฏต่อไปว่าพระแม่สาวิตรีทรงพิโรธและไม่พอพระทัยในการเสกสมรสของพระพรหมกับนางคายตรี และกล่าวคำสาปแด่เทพบุรุษและเทพีทั้งมวลที่มีส่วนร่วมในพิธีครั้งนี้อย่างไรก็ตาม ปัทมะปุราณาได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่พระเทพีสาวิตรีได้ทรงรับการขออภัยโทษจากพระพรหม…
-
พระพรหม
เทพผู้สร้างโลก ผู้ยิ่งใหญ่สร้างทุกสรรพสิ่ง มีความเมตตากรุณา ประทานพรได้ง่าย ขอพรให้มีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา (ที่มา : สยามคเนศ) พระพรหมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่มีรูป เรียกว่า “รูปพรหม” มีทั้งหมด 16 ชั้น และพรหมที่ไม่มีรูป เรียกว่า “อรูปพรหม” มีทั้งหมด 4 ชั้น โดยอรูปพรหมจะสูงกว่ารูปพรหม ตามคติเถรวาท พระพรหมไม่มีเพศ ไม่ต้องกินไม่ต้องบริโภคอาหาร เหมือนสัตว์ในภูมิอื่น ด้วยว่าแช่มชื่นอิ่มเอิบโดยมีฌานสมาบัติเป็นอาหาร จึงไม่ต้องขับถ่ายคูตรมูถ สถิตย์เสวยสุขพรหมสมบัติอยู่ ณ พรหมภูมิที่ตนอุบัติตราบจน กว่าจะสิ้นอายุ ซึ่งเป็นเวลานานแสนนาน มหาพราหมณ์ (梵天像) หรือที่เรียกกันว่า มหาพราหมณ์ (สันสกฤต: มหาพรหม (-เทวะ) แปลว่า พรหมผู้ยิ่งใหญ่ ทับศัพท์ว่า มหาพราหมณ์) พรหมเจ้า สวรรค์อันบริสุทธิ์ พระพรหมบอย (สันสกฤต : พรหมสนังกุมาร)…